วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

ลานีญา

ความหมายของลานีญา

       ลา นีญา (ในภาษาสเปน หมายถึง เด็กหญิงตัวน้อย) มีชื่อเรียกต่างๆ กันหลายชื่อ เช่น น้องของเอลนีโญ, สภาวะตรงข้ามเอลนีโญ, สภาวะที่ไม่ใช่เอลนีโญและฤดูกาลที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลเย็นเป็นต้น
โดย ลานีญาคือปรากฎการณ์ที่ทำให้สภาพอากาศเดิมมีความรุน แรงขึ้นอีกจากฝนตกหนักจะหนักขึ้นอีก จากแล้งจะแล้งมากขึ้น แต่เอลนีโญเป็นปรากฎการณ์ที่ทำให้สภาพอากาศเดิมเปลี่ยนแปลง ในทางตรงข้ามคือ
จากฝนมากจะตกลดลง จากฝนน้อยจะตกหนักมากขึ้นอีก

การเกิดลานีญา

       ปกติ ลมค้าตะวันออกเฉียง ใต้ในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนหรือแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรจะพัดพาน้ำอุ่นจากทาง ตะวันออกของมหาสมุทรไปสะสมอยู่ทางตะวันตกซึ่งทำให้มีการก่อตัวของเมฆและ ฝนบริเวณด้านตะวันตกของแปซิฟิกเขตร้อน
ส่วนแปซิฟิกตะวันออกหรือบริเวณ ชายฝั่งประเทศเอกวาดอร์และเปรูมีการ ไหลขึ้นของน้ำเย็นระดับล่างขึ้นไปยังผิวน้ำ ซึ่งทำให้บริเวณดังกล่าวแห้งแล้ง สถานการณ์เช่นนี้เป็นลักษณะปกติเราจึงเรียกว่าสภาวะปกติหรือสภาวะที่ไม่ใช่ เอลนีโญ
      แต่มีบ่อยครั้งที่สถานการณ์เช่นนี้ถูกมองว่าเป็นได้ทั้งสภาวะ ปกติและลานีญา แต่จะเห็นได้ว่าปรากฏการณ์ลานีญามีความแตกต่างจากสภาวะปกติ นั่นคือลมค้าตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก เขตร้อนมี กำลังแรงมากกว่าปกติและพัดพาผิวน้ำทะเลที่อุ่นจากตะวันออกไปสะสมอยู่ทาง ตะวันตก (บริเวณชายฝั่งอินโดนีเซียและออสเตรเลีย) มากยิ่งขึ้นทำให้บริเวณแปซิฟิกตะวันตก รวมทั้งบริเวณตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชีย
ซึ่งเดิมมี อุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงกว่าทางตะวันออกอยู่ แล้วยิ่งมีอุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นไปอีก อุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่สูงขึ้นส่งผลให้อากาศเหนือบริเวณดังกล่าวมีการลอยตัว ขึ้น และกลั่นตัวเป็นเมฆและฝน
ส่วนแปซิฟิกตะวันออกนอกฝั่งประเทศเปรู และเอกวาดอร์นั้นขบวนการ ไหลขึ้นของน้ำเย็นระดับล่างไปสู่ผิวน้ำจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องและรุนแรง อุณหภูมิที่ผิวน้ำทะเลจึงลดลงต่ำกว่าปกติจะมีความแห้งแล้งรุนแรงมากขึ้นเช่น ลานีญาที่เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2531 – 2532 อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณดังกล่าวต่ำกว่าปกติประมาณ 4 องศาเซลเซียส ปรากฏการณ์ลานีญาเกิดขึ้นได้ทุก 2 – 3 ปี และปกติจะเกิดขึ้นนานประมาณ 9 – 12 เดือนแต่บางครั้งอาจปรากฏอยู่ได้นานถึง 2 ปี

ผลกระทบของลานีญา

      ผล กระทบของลานีญาจะตรงข้ามกับเอลนีโญ คือปรากฏการณ์ลานีญาทำให้ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ์มีแนวโน้มที่จะมีฝนมากและมีน้ำท่วม ขณะที่บริเวณแปซิฟิกเขตร้อนตะวันออกมีฝนน้อยและแห้งแล้ง
      นอกจากพื้นที่ ในบริเวณเขตร้อนจะได้รับผลกระทบแล้ว ปรากฏว่าลานีญายังมีอิทธิพลไปยังพื้นที่ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปด้วย โดยพบว่าแอฟริกาใต้มีแนวโน้มที่จะมีฝนมากกว่าปกติ
และมีความ เสี่ยงต่ออุทกภัยมากขึ้น ขณะที่บริเวณตะวันออกของแอฟริกาและตอนใต้ของอเมริกาใต้มีฝนน้อย และเสี่ยงต่อการเกิดความแห้งแล้ง และในสหรัฐอเมริกาช่วงที่เกิดปรากฏการณ์ลานีญา
จะแห้ง แล้งกว่าปกติทางตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงปลายฤดูร้อนต่อเนื่องถึงฤดูหนาว บริเวณที่ราบตอนกลางของประเทศในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและทางตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงฤดูหนาว แต่บางพื้นที่ทางตอนเหนือและตะวันออกมีฝนมากกว่าปกติในช่วงฤดูหนาว
ส่วน ผลกระทบของลานีญาที่มีต่อรูปแบบของอุณหภูมิ ปรากฏว่าในช่วงลานีญาอุณหภูมิผิวพื้นบริเวณเขตร้อนโดยเฉลี่ยจะลดลง และมีแนวโน้มต่ำกว่าปกติในช่วงฤดูหนาวของซีกโลกเหนือทางตะวันตกเฉียง เหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก
       บริเวณประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีมีอุณหภูมิต่ำ กว่าปกติ ขณะที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรรวมถึงพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของ ออส เตรเลียมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ ส่วนทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกาต่อเนื่องถึงตอนใต้ของแคนาดา
มีอากาศหนาว เย็นกว่าปกติ ซึ่งกระทบกันแทบทั้งโลกเลยทีเดียว

ผลกระทบของลานีญาต่อปริมาณฝน และอุณหภูมิในประเทศไทย

       ช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝนเป็นระยะที่ลานีญามีผลกระทบต่อสภาวะฝนของประเทศไทยชัด เจนกว่าช่วงอื่น
       สำหรับ อุณหภูมิ ทุกภาคของประเทศไทยมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติทุกฤดู และพบว่าลานีญาที่มีขนาดปานกลางถึงรุนแรงส่งผลให้ปริมาณฝนของประเทศ ไทยสูงกว่าปกติมากขึ้น

ที่มา:http://www.lib.kmutt.ac.th/st4kid/nonFlash/index.jsp?id=189

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น