วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นพระโอรส พระองค์ที่ 57 ในสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแก่พระสนมเอก เจ้าจอมมารดาชุ่ม เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 ซึ่งสมเด็จพระบรมชนกนาถ พระราชทานนามว่า “พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ” ในวัยที่ยังทรงพระเยาว์ ทรงศึกษาภาษาไทยเบื้องต้นที่สำนักคุณแสง และคุณปาน ราชนิกุล ในพระบรมราชวัง อีกทั้งยังทรงศึกษาภาษาบาลี ในสำนักพระยาปริยัติธรรมธาดา และหลวงธรรมานุวัติจำนง(จุ้ย)
เมื่อปี พ.ศ.2418 ทรงเริ่มเข้ารับราชการเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบก กรมนายร้อย
(ขณะนั้นเรียกกันว่าคะเด็ตทหารมหาดเล็ก) ต่อมาในปี พ.ศ.2432 ได้รับตำแหน่งเป็นสภานายกหอ พระสมุดวชิรญาณครั้งแรก และได้รับการสถาปนาเป็น “กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ” เมื่อพ.ศ. 2442 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่ง “นายพลโทราชองค์รักษ์” และเป็นอธิบดีกระทรวงธรรมาธิการ เป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เป็นราชฑูตพิเศษเสด็จไปยุโรป 1 ครั้ง
ครั้นภายหลังทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เลื่อนขึ้นเป็น “กรมพระยาดำรงราชานุภาพ” เมื่อพ.ศ. 2454 ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระยาดำรงราชานุภาพเลื่อนเป็น “สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ”เมื่อพ.ศ. 2472 ทั้งยังขึ้นเป็นอภิรัฐมนตรีและเป็นนายกราชบัณฑิตยสภา
ผลงานด้านการปกครองที่สำคัญที่สุด ในพระชนม์ชีพของพระองค์คือ การจัดการปกครอง แบบใหม่ ตั้งมณฑล 18 มณฑล และอีก 71 จังหวัด อันเป็นรากฐานสำคัญในการปกครองและบริหาร ท้องที่ในปัจจุบัน นอกจากนี้พระองค์ยังทรงมีผลงานต่างๆ อีกดังนี้

1. การตั้งกรมแผนที่ เมื่อ พ.ศ.2428
2. ทรงจัดระเบียบการบริหารราชการของกรมศึกษาธิการและโรงเรียนใหม่ โดยจัดตั้ง “วัดมหรรณพาราม” ที่เป็นโรงเรียนหลวงแห่งแรก อีกยังปรับปรุงหลักสูตรตำราเรียน คือตำราแบบเรียนเร็ว
3. ทรงริเริ่มและวางรากฐานการดำเนินงานของกิจการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอสมุดแห่งชาติ และหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
4. ทรงรวบรวมเอกสาร การเผยแพร่ความรู้ พระดำริพิมพ์หนังสือเป็นของชำร่วย ทั้งทรงชำระวรรณคดีและประวัติศาสตร์ จึงได้รับการถวายพระสมญาว่า “บิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์ไทย”และยังทรงมีผลงานพระนิพนธ์ มีจำนวน 653 เรื่อง จำแนกลักษณะงานพระนิพนธ์ ออก เป็น 10 ประเภท จัดสาส์นสมเด็จเป็นประเภทที่ 10 คือ วรรณกรรมล้ำค่า
ชีวิตส่วนพระองค์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสมรสกับหม่อมเฉื่อย อีกทั้งยังทรงมีชายารวม 11 ท่าน มีพระโอรสธิดา รวม 39 พระองค์
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 พระองค์จึงละกิจการทั้งปวง เสด็จโดยกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีมหาดไทย เมื่อปี 2485 และทรงไปประทับที่หัวหิน ตามคำแนะนำของแพทย์ ต่อมาอีก 1 ปี ก็เสด็จไปประทับที่ปีนัง จนกระทั่งเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2485 ก็เสด็จกลับกรุงเทพ ฯ และสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ด้วยโรคชราภาพ รวมพระชนมายุได้ 81 พรรษา
ต่อมาได้มีการสร้างหอสมุดดำรงราชานุภาพ เป็นห้องสมุดอนุสรณ์ถึงสมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทยและโบราณคดี นอกจากนี้ พระองค์ได้รับการยกย่องจากองค์การ UNESCO ในปี พ.ศ. 2505 ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก
แหล่งข้อมูล : www.prachuabwit.ac.th
www.rta.mi.th
www.tungsong.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น