วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นพระโอรส พระองค์ที่ 57 ในสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแก่พระสนมเอก เจ้าจอมมารดาชุ่ม เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 ซึ่งสมเด็จพระบรมชนกนาถ พระราชทานนามว่า “พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ” ในวัยที่ยังทรงพระเยาว์ ทรงศึกษาภาษาไทยเบื้องต้นที่สำนักคุณแสง และคุณปาน ราชนิกุล ในพระบรมราชวัง อีกทั้งยังทรงศึกษาภาษาบาลี ในสำนักพระยาปริยัติธรรมธาดา และหลวงธรรมานุวัติจำนง(จุ้ย)
เมื่อปี พ.ศ.2418 ทรงเริ่มเข้ารับราชการเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบก กรมนายร้อย
(ขณะนั้นเรียกกันว่าคะเด็ตทหารมหาดเล็ก) ต่อมาในปี พ.ศ.2432 ได้รับตำแหน่งเป็นสภานายกหอ พระสมุดวชิรญาณครั้งแรก และได้รับการสถาปนาเป็น “กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ” เมื่อพ.ศ. 2442 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่ง “นายพลโทราชองค์รักษ์” และเป็นอธิบดีกระทรวงธรรมาธิการ เป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เป็นราชฑูตพิเศษเสด็จไปยุโรป 1 ครั้ง
ครั้นภายหลังทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เลื่อนขึ้นเป็น “กรมพระยาดำรงราชานุภาพ” เมื่อพ.ศ. 2454 ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระยาดำรงราชานุภาพเลื่อนเป็น “สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ”เมื่อพ.ศ. 2472 ทั้งยังขึ้นเป็นอภิรัฐมนตรีและเป็นนายกราชบัณฑิตยสภา
ผลงานด้านการปกครองที่สำคัญที่สุด ในพระชนม์ชีพของพระองค์คือ การจัดการปกครอง แบบใหม่ ตั้งมณฑล 18 มณฑล และอีก 71 จังหวัด อันเป็นรากฐานสำคัญในการปกครองและบริหาร ท้องที่ในปัจจุบัน นอกจากนี้พระองค์ยังทรงมีผลงานต่างๆ อีกดังนี้

1. การตั้งกรมแผนที่ เมื่อ พ.ศ.2428
2. ทรงจัดระเบียบการบริหารราชการของกรมศึกษาธิการและโรงเรียนใหม่ โดยจัดตั้ง “วัดมหรรณพาราม” ที่เป็นโรงเรียนหลวงแห่งแรก อีกยังปรับปรุงหลักสูตรตำราเรียน คือตำราแบบเรียนเร็ว
3. ทรงริเริ่มและวางรากฐานการดำเนินงานของกิจการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอสมุดแห่งชาติ และหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
4. ทรงรวบรวมเอกสาร การเผยแพร่ความรู้ พระดำริพิมพ์หนังสือเป็นของชำร่วย ทั้งทรงชำระวรรณคดีและประวัติศาสตร์ จึงได้รับการถวายพระสมญาว่า “บิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์ไทย”และยังทรงมีผลงานพระนิพนธ์ มีจำนวน 653 เรื่อง จำแนกลักษณะงานพระนิพนธ์ ออก เป็น 10 ประเภท จัดสาส์นสมเด็จเป็นประเภทที่ 10 คือ วรรณกรรมล้ำค่า
ชีวิตส่วนพระองค์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสมรสกับหม่อมเฉื่อย อีกทั้งยังทรงมีชายารวม 11 ท่าน มีพระโอรสธิดา รวม 39 พระองค์
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 พระองค์จึงละกิจการทั้งปวง เสด็จโดยกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีมหาดไทย เมื่อปี 2485 และทรงไปประทับที่หัวหิน ตามคำแนะนำของแพทย์ ต่อมาอีก 1 ปี ก็เสด็จไปประทับที่ปีนัง จนกระทั่งเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2485 ก็เสด็จกลับกรุงเทพ ฯ และสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ด้วยโรคชราภาพ รวมพระชนมายุได้ 81 พรรษา
ต่อมาได้มีการสร้างหอสมุดดำรงราชานุภาพ เป็นห้องสมุดอนุสรณ์ถึงสมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทยและโบราณคดี นอกจากนี้ พระองค์ได้รับการยกย่องจากองค์การ UNESCO ในปี พ.ศ. 2505 ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก
แหล่งข้อมูล : www.prachuabwit.ac.th
www.rta.mi.th
www.tungsong.com

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555


การผสมน้ำและน้ำมัน

น้องๆเคยสงสัยมั๊ยว่าทำไม๊...ทำไมน้ำกับน้ำมันจึงผสมให้เข้ากันไม่ได้ การทดลองนี้เราจะทำให้สารสองชนิดนี้ผสมกันได้ โดยใช้สารเคมีชนิดหนึ่งช่วย นั่นคือ น้ำยาล้างจาน ลองทำกันดูนะค้าบ

อุปกรณ์

1. แก้วน้ำ 1 ใบ
2. น้ำมันสำหรับทำอาหาร (ใช้น้ำมันได้ทุกชนิด)
3. น้ำเปล่า
4. ช้อน 1 คัน
5. น้ำยาล้างจาน (อาจใช้ผงซักฟอกก็ได้)

วิธีทดลอง




คำอธิบาย

           น้ำและน้ำมันเป็นของเหลวเหมือนกัน แต่เป็นสารเคมีต่างชนิดกัน แต่ผสมกันไม่ได้เพราะโมเลกุลต่างกัน โมเลกุลของน้ำมีไฮโดรเจนสองอะตอมและออกซิเจนหนึ่งอะตอม ในขณะที่โมเลกุลของน้ำมันประกอบด้วยอะตอมของคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนจำนวนมาก ถ้าเราคนน้ำและน้ำมันเข้าด้วยกันน้ำมันจะแตกตัวเป็นเม็ดเล็กๆ แต่อันที่จริงแล้วน้ำมันไม่ละลาย เมื่อเราเติมน้ำยาล้างจานลงไปจะช่วยทำให้โมเลกุลของน้ำมันแตกตัวเล็กลงจนดูเหมือนเป็นเนื้อเดียวกัน เราเรียกสภาวะนี้ว่า ?อิมัลชัน? เป็นสภาวะที่ของเหลวตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ที่ปกติไม่ผสมเป็นเนื้อเดียวกันมาผสมกันได้โดยไม่แยกชั้น ในการทดลองนี้เราใช้น้ำยาล้างจานเป็น ? อิมัลซิฟายเออร์ ? ซึ่งเป็นสารที่สามารถลดแรงตึงผิวได้ เนื่องจาก การละลายของสารเกิดจากความต่างขั้วกันดังนั้นเพื่อให้สารผสมกันได้ครึ่งหนึ่งจะมีขั้วส่วนอีกครึ่งจะไม่มีขั้ว ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้เราสามารถล้างน้ำมันออกจากภาชนะได้อย่างสะอาดหมดจด
ตัวอย่างอิมัลชันที่น่าสนใจ

ที่มา:http://www.nsm.or.th/nsm2009/index.php?option=com_nsmcontents&views=article&id=1706&Itemid=92

มหัศจรรย์ไนโตรเจนเหลว

ไฟฟ้าจากมะนาว

ดอกอัญชันทดสอบ กรด-ด่าง


สารเคมีต่างๆที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ของกินของใช้ประจำบ้านเรา เช่น ผงซักฟอก สบู่ก้อน น้ำยาล้างจาน น้ำส้มสายชู บางอย่างก็มีความเป็นกรด(รสเปรี้ยว) บางอย่างเป็นด่าง(รสฝาด) เราสามารถทดสอบกรด-ด่างได้อย่างปลอดภัยไม่ต้องชิมรส ..ก็ของบางอย่างกินไม่ได้นี่นา เริ่มการทดลองกันเลย

สิ่งที่ต้องใช้

1. ดอกอัญชัน(สีน้ำเงิน) 15 ดอก
2. นำร้อน
3. ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทดสอบ เช่น สบู่ก้อนต้ดเป็นชิ้นเล็กๆ น้ำมะนาว ผงซักฟอก น้ำส้มสายชู น้ำยา ล้างจาน

วิธีทดลอง

       นำดอกอัญชันมาแช่ในน้ำร้อนสักครู่ จะสังเกตว่ามีสีน้ำเงินละลายออกมาจากกลีบดอกทิ้งไว้จนกลีบดอกซีดจึงตักขึ้นนำน้ำสีน้ำเงินที่ได้แบ่งใส่แก้วใสตามจำนวนผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทดสอบ และอย่าลืมเหลือสีเดิมไว้เปรียบเทียบด้วยนะติดป้ายชื่อผลิตภัณฑ์ บนแก้วแต่ละใบเพื่อจะได้ไม่สับสนตอนบันทึกผลการทดลองเติมสารเคมีที่ต้องการทดสอบ 1 ช้อนชา ลงไปในแก้วแต่ละใบ แล้วคนให้เข้ากัน
เพราะอะไรกันนะน้ำสีน้ำเงินของดอกอัญชัน สามารถเป็นอินดิเคเตอร์ วัดความเป็นกรด-ด่างได้ โดยสารที่เป็นกรดจะทำให้น้ำเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดงสารที่เป็นด่างจะทำให้น้ำเปลี่ยนเป็นสีเขียว

ที่มา:http://karn.tv/index.php?option=com_content&view=article&id=169&Itemid=60

กระบวนการกลั่นน้ำมัน



การทดลอง: แสงดาวที่หายไป







เพื่อคลายข้อสงสัยนี้ เราไปร่วมค้นหาคำตอบกับการทดลองสนุก ๆ  ในตอนที่ชื่อว่า .?แสงดาวที่หายไป?

อุปกรณ์

1. ซองจดหมายสีขาว 1 ซอง
2. กระดาษแข็ง 1 แผ่น (ขนาดเล็กว่าซองจดหมาย)
3. ที่เจาะกระดาษ หรือไม้เสียบลูกชิ้น
4. ไฟฉาย

วิธีการทดลอง

1.  เจาะรูบนแผ่นกระดาษแข็งประมาณ 10-15 รู แล้วนำใส่ลงในซองจดหมาย ดังภาพที่1
2.  เลือกทำการทดลองในห้องที่มีแสงสว่างปกติ ให้ถือซองจดหมายที่ระดับสายตา แล้วส่องไฟฉายไปบริเวณด้านหน้าของ
     ซองจดหมาย ดังภาพที่ 2 โดยให้ไฟฉายห่างจากซองจดหมายประมาณ 2 นิ้ว สังเกตเห็นอะไรบ้าง
3.  ให้ถือซองจดหมายไว้ที่ตำแหน่งเดิม แต่เปลี่ยนตำแหน่งของไฟฉาย        โดยเลื่อนไฟฉายไปฉายด้านหลังซองจดหมาย
     ดังภาพที่ 3 สังเกตสิ่งที่มองเห็นจากภายในซองจดหมาย
 
          จากผลการทดลอง จะพบว่าเมื่อส่องไฟฉายบริเวณด้านหน้าซองจดหมาย จะเห็นเพียงแสงสว่างจ้าของไฟฉายสะท้อนเข้าตา  แต่เมื่อเปลี่ยนไปส่องด้านหลังซองจดหมาย ก็จะสามารถมองเห็นแสงจากไฟฉายบางส่วนลอดผ่านรูเล็ก ๆ ที่เจาะไว้ ดูคล้ายกับดาวที่ส่องแสงระยิบระยับในเวลากลางคืน


         การที่มนุษย์มองเห็นสิ่งต่าง ๆ  ได้นั้นเนื่องจากมีแสงจากวัตถุสะท้อนเข้าสู่ตา ผ่านรูม่านตา (Pupil) ที่อยู่ระหว่างม่านตา (Iris) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงสีของดวงตา  คนทั่วไปมักเรียกรูม่านตาว่า ตาดำ  ม่านตาจะควบคุมแสงให้ผ่านเข้าสู่ตาในปริมาณที่เหมาะสม คือ ในที่มีแสงสว่างมาก ม่านตาปรับรูม่านตาให้แคบลง เพื่อลดปริมาณแสงที่ผ่านเข้าสู่ตา ถ้าอยู่ในบริเวณที่มีแสงสว่างน้อย รูม่านตาจะขยายกว้างออก ทำให้แสงผ่านเข้าสู่ตาได้มาก จึงมองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น  ในกรณีที่เราส่องไฟฉายไปด้านหน้าของซองจดหมาย แสงจ้าของไฟฉายจะสะท้อนกับกระดาษเข้าสู่ตา ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นรูเล็ก ๆ บนกระดาษได้ เช่นเดียวกับการที่แสงอาทิตย์ส่องกระทบกับบรรยากาศโลก  แสงเหล่านี้จะกลบแสงดาวให้หายไปในเวลากลางวัน  ทั้ง ๆ ที่ดาวดวงน้อยใหญ่เหล่านั้นยังคงส่องสว่างอยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อเราส่องไฟฉายเข้าด้านหลังซองจดหมาย ปริมาณแสงด้านหน้าซองจดหมายที่น้อยกว่า จะทำให้รูม่านตาเปิดกว้าง เพื่อรับแสงที่ลอดผ่านรูบนกระดาษมา ทำให้เราสามารถมองเห็นรูบนแผ่นกระดาษได้อย่างชัดเจน
เราจะเห็นดาวบนท้องฟ้าได้อย่างชัดเจนในเวลากลางคืน โดยเฉพาะคืนเดือนมืดในชนบทจะเห็นดาวบนฟ้ามากมาย ยกเว้นในคืนที่พระจันทร์ส่องสว่างมาก ๆ หรือในเมืองที่มีแสงไฟรบกวน  แสงจากดาวก็จะหายลับไป

ที่มา:http://www.nsm.or.th/nsm2009/index.php?option=com_nsmcontents&views=article&id=1686&Itemid=92