วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นพระโอรส พระองค์ที่ 57 ในสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแก่พระสนมเอก เจ้าจอมมารดาชุ่ม เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 ซึ่งสมเด็จพระบรมชนกนาถ พระราชทานนามว่า “พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ” ในวัยที่ยังทรงพระเยาว์ ทรงศึกษาภาษาไทยเบื้องต้นที่สำนักคุณแสง และคุณปาน ราชนิกุล ในพระบรมราชวัง อีกทั้งยังทรงศึกษาภาษาบาลี ในสำนักพระยาปริยัติธรรมธาดา และหลวงธรรมานุวัติจำนง(จุ้ย)
เมื่อปี พ.ศ.2418 ทรงเริ่มเข้ารับราชการเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบก กรมนายร้อย
(ขณะนั้นเรียกกันว่าคะเด็ตทหารมหาดเล็ก) ต่อมาในปี พ.ศ.2432 ได้รับตำแหน่งเป็นสภานายกหอ พระสมุดวชิรญาณครั้งแรก และได้รับการสถาปนาเป็น “กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ” เมื่อพ.ศ. 2442 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่ง “นายพลโทราชองค์รักษ์” และเป็นอธิบดีกระทรวงธรรมาธิการ เป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เป็นราชฑูตพิเศษเสด็จไปยุโรป 1 ครั้ง
ครั้นภายหลังทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เลื่อนขึ้นเป็น “กรมพระยาดำรงราชานุภาพ” เมื่อพ.ศ. 2454 ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระยาดำรงราชานุภาพเลื่อนเป็น “สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ”เมื่อพ.ศ. 2472 ทั้งยังขึ้นเป็นอภิรัฐมนตรีและเป็นนายกราชบัณฑิตยสภา
ผลงานด้านการปกครองที่สำคัญที่สุด ในพระชนม์ชีพของพระองค์คือ การจัดการปกครอง แบบใหม่ ตั้งมณฑล 18 มณฑล และอีก 71 จังหวัด อันเป็นรากฐานสำคัญในการปกครองและบริหาร ท้องที่ในปัจจุบัน นอกจากนี้พระองค์ยังทรงมีผลงานต่างๆ อีกดังนี้

1. การตั้งกรมแผนที่ เมื่อ พ.ศ.2428
2. ทรงจัดระเบียบการบริหารราชการของกรมศึกษาธิการและโรงเรียนใหม่ โดยจัดตั้ง “วัดมหรรณพาราม” ที่เป็นโรงเรียนหลวงแห่งแรก อีกยังปรับปรุงหลักสูตรตำราเรียน คือตำราแบบเรียนเร็ว
3. ทรงริเริ่มและวางรากฐานการดำเนินงานของกิจการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอสมุดแห่งชาติ และหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
4. ทรงรวบรวมเอกสาร การเผยแพร่ความรู้ พระดำริพิมพ์หนังสือเป็นของชำร่วย ทั้งทรงชำระวรรณคดีและประวัติศาสตร์ จึงได้รับการถวายพระสมญาว่า “บิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์ไทย”และยังทรงมีผลงานพระนิพนธ์ มีจำนวน 653 เรื่อง จำแนกลักษณะงานพระนิพนธ์ ออก เป็น 10 ประเภท จัดสาส์นสมเด็จเป็นประเภทที่ 10 คือ วรรณกรรมล้ำค่า
ชีวิตส่วนพระองค์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสมรสกับหม่อมเฉื่อย อีกทั้งยังทรงมีชายารวม 11 ท่าน มีพระโอรสธิดา รวม 39 พระองค์
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 พระองค์จึงละกิจการทั้งปวง เสด็จโดยกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีมหาดไทย เมื่อปี 2485 และทรงไปประทับที่หัวหิน ตามคำแนะนำของแพทย์ ต่อมาอีก 1 ปี ก็เสด็จไปประทับที่ปีนัง จนกระทั่งเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2485 ก็เสด็จกลับกรุงเทพ ฯ และสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ด้วยโรคชราภาพ รวมพระชนมายุได้ 81 พรรษา
ต่อมาได้มีการสร้างหอสมุดดำรงราชานุภาพ เป็นห้องสมุดอนุสรณ์ถึงสมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทยและโบราณคดี นอกจากนี้ พระองค์ได้รับการยกย่องจากองค์การ UNESCO ในปี พ.ศ. 2505 ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก
แหล่งข้อมูล : www.prachuabwit.ac.th
www.rta.mi.th
www.tungsong.com

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555


การผสมน้ำและน้ำมัน

น้องๆเคยสงสัยมั๊ยว่าทำไม๊...ทำไมน้ำกับน้ำมันจึงผสมให้เข้ากันไม่ได้ การทดลองนี้เราจะทำให้สารสองชนิดนี้ผสมกันได้ โดยใช้สารเคมีชนิดหนึ่งช่วย นั่นคือ น้ำยาล้างจาน ลองทำกันดูนะค้าบ

อุปกรณ์

1. แก้วน้ำ 1 ใบ
2. น้ำมันสำหรับทำอาหาร (ใช้น้ำมันได้ทุกชนิด)
3. น้ำเปล่า
4. ช้อน 1 คัน
5. น้ำยาล้างจาน (อาจใช้ผงซักฟอกก็ได้)

วิธีทดลอง




คำอธิบาย

           น้ำและน้ำมันเป็นของเหลวเหมือนกัน แต่เป็นสารเคมีต่างชนิดกัน แต่ผสมกันไม่ได้เพราะโมเลกุลต่างกัน โมเลกุลของน้ำมีไฮโดรเจนสองอะตอมและออกซิเจนหนึ่งอะตอม ในขณะที่โมเลกุลของน้ำมันประกอบด้วยอะตอมของคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนจำนวนมาก ถ้าเราคนน้ำและน้ำมันเข้าด้วยกันน้ำมันจะแตกตัวเป็นเม็ดเล็กๆ แต่อันที่จริงแล้วน้ำมันไม่ละลาย เมื่อเราเติมน้ำยาล้างจานลงไปจะช่วยทำให้โมเลกุลของน้ำมันแตกตัวเล็กลงจนดูเหมือนเป็นเนื้อเดียวกัน เราเรียกสภาวะนี้ว่า ?อิมัลชัน? เป็นสภาวะที่ของเหลวตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ที่ปกติไม่ผสมเป็นเนื้อเดียวกันมาผสมกันได้โดยไม่แยกชั้น ในการทดลองนี้เราใช้น้ำยาล้างจานเป็น ? อิมัลซิฟายเออร์ ? ซึ่งเป็นสารที่สามารถลดแรงตึงผิวได้ เนื่องจาก การละลายของสารเกิดจากความต่างขั้วกันดังนั้นเพื่อให้สารผสมกันได้ครึ่งหนึ่งจะมีขั้วส่วนอีกครึ่งจะไม่มีขั้ว ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้เราสามารถล้างน้ำมันออกจากภาชนะได้อย่างสะอาดหมดจด
ตัวอย่างอิมัลชันที่น่าสนใจ

ที่มา:http://www.nsm.or.th/nsm2009/index.php?option=com_nsmcontents&views=article&id=1706&Itemid=92

มหัศจรรย์ไนโตรเจนเหลว

ไฟฟ้าจากมะนาว

ดอกอัญชันทดสอบ กรด-ด่าง


สารเคมีต่างๆที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ของกินของใช้ประจำบ้านเรา เช่น ผงซักฟอก สบู่ก้อน น้ำยาล้างจาน น้ำส้มสายชู บางอย่างก็มีความเป็นกรด(รสเปรี้ยว) บางอย่างเป็นด่าง(รสฝาด) เราสามารถทดสอบกรด-ด่างได้อย่างปลอดภัยไม่ต้องชิมรส ..ก็ของบางอย่างกินไม่ได้นี่นา เริ่มการทดลองกันเลย

สิ่งที่ต้องใช้

1. ดอกอัญชัน(สีน้ำเงิน) 15 ดอก
2. นำร้อน
3. ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทดสอบ เช่น สบู่ก้อนต้ดเป็นชิ้นเล็กๆ น้ำมะนาว ผงซักฟอก น้ำส้มสายชู น้ำยา ล้างจาน

วิธีทดลอง

       นำดอกอัญชันมาแช่ในน้ำร้อนสักครู่ จะสังเกตว่ามีสีน้ำเงินละลายออกมาจากกลีบดอกทิ้งไว้จนกลีบดอกซีดจึงตักขึ้นนำน้ำสีน้ำเงินที่ได้แบ่งใส่แก้วใสตามจำนวนผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทดสอบ และอย่าลืมเหลือสีเดิมไว้เปรียบเทียบด้วยนะติดป้ายชื่อผลิตภัณฑ์ บนแก้วแต่ละใบเพื่อจะได้ไม่สับสนตอนบันทึกผลการทดลองเติมสารเคมีที่ต้องการทดสอบ 1 ช้อนชา ลงไปในแก้วแต่ละใบ แล้วคนให้เข้ากัน
เพราะอะไรกันนะน้ำสีน้ำเงินของดอกอัญชัน สามารถเป็นอินดิเคเตอร์ วัดความเป็นกรด-ด่างได้ โดยสารที่เป็นกรดจะทำให้น้ำเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดงสารที่เป็นด่างจะทำให้น้ำเปลี่ยนเป็นสีเขียว

ที่มา:http://karn.tv/index.php?option=com_content&view=article&id=169&Itemid=60

กระบวนการกลั่นน้ำมัน



การทดลอง: แสงดาวที่หายไป







เพื่อคลายข้อสงสัยนี้ เราไปร่วมค้นหาคำตอบกับการทดลองสนุก ๆ  ในตอนที่ชื่อว่า .?แสงดาวที่หายไป?

อุปกรณ์

1. ซองจดหมายสีขาว 1 ซอง
2. กระดาษแข็ง 1 แผ่น (ขนาดเล็กว่าซองจดหมาย)
3. ที่เจาะกระดาษ หรือไม้เสียบลูกชิ้น
4. ไฟฉาย

วิธีการทดลอง

1.  เจาะรูบนแผ่นกระดาษแข็งประมาณ 10-15 รู แล้วนำใส่ลงในซองจดหมาย ดังภาพที่1
2.  เลือกทำการทดลองในห้องที่มีแสงสว่างปกติ ให้ถือซองจดหมายที่ระดับสายตา แล้วส่องไฟฉายไปบริเวณด้านหน้าของ
     ซองจดหมาย ดังภาพที่ 2 โดยให้ไฟฉายห่างจากซองจดหมายประมาณ 2 นิ้ว สังเกตเห็นอะไรบ้าง
3.  ให้ถือซองจดหมายไว้ที่ตำแหน่งเดิม แต่เปลี่ยนตำแหน่งของไฟฉาย        โดยเลื่อนไฟฉายไปฉายด้านหลังซองจดหมาย
     ดังภาพที่ 3 สังเกตสิ่งที่มองเห็นจากภายในซองจดหมาย
 
          จากผลการทดลอง จะพบว่าเมื่อส่องไฟฉายบริเวณด้านหน้าซองจดหมาย จะเห็นเพียงแสงสว่างจ้าของไฟฉายสะท้อนเข้าตา  แต่เมื่อเปลี่ยนไปส่องด้านหลังซองจดหมาย ก็จะสามารถมองเห็นแสงจากไฟฉายบางส่วนลอดผ่านรูเล็ก ๆ ที่เจาะไว้ ดูคล้ายกับดาวที่ส่องแสงระยิบระยับในเวลากลางคืน


         การที่มนุษย์มองเห็นสิ่งต่าง ๆ  ได้นั้นเนื่องจากมีแสงจากวัตถุสะท้อนเข้าสู่ตา ผ่านรูม่านตา (Pupil) ที่อยู่ระหว่างม่านตา (Iris) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงสีของดวงตา  คนทั่วไปมักเรียกรูม่านตาว่า ตาดำ  ม่านตาจะควบคุมแสงให้ผ่านเข้าสู่ตาในปริมาณที่เหมาะสม คือ ในที่มีแสงสว่างมาก ม่านตาปรับรูม่านตาให้แคบลง เพื่อลดปริมาณแสงที่ผ่านเข้าสู่ตา ถ้าอยู่ในบริเวณที่มีแสงสว่างน้อย รูม่านตาจะขยายกว้างออก ทำให้แสงผ่านเข้าสู่ตาได้มาก จึงมองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น  ในกรณีที่เราส่องไฟฉายไปด้านหน้าของซองจดหมาย แสงจ้าของไฟฉายจะสะท้อนกับกระดาษเข้าสู่ตา ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นรูเล็ก ๆ บนกระดาษได้ เช่นเดียวกับการที่แสงอาทิตย์ส่องกระทบกับบรรยากาศโลก  แสงเหล่านี้จะกลบแสงดาวให้หายไปในเวลากลางวัน  ทั้ง ๆ ที่ดาวดวงน้อยใหญ่เหล่านั้นยังคงส่องสว่างอยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อเราส่องไฟฉายเข้าด้านหลังซองจดหมาย ปริมาณแสงด้านหน้าซองจดหมายที่น้อยกว่า จะทำให้รูม่านตาเปิดกว้าง เพื่อรับแสงที่ลอดผ่านรูบนกระดาษมา ทำให้เราสามารถมองเห็นรูบนแผ่นกระดาษได้อย่างชัดเจน
เราจะเห็นดาวบนท้องฟ้าได้อย่างชัดเจนในเวลากลางคืน โดยเฉพาะคืนเดือนมืดในชนบทจะเห็นดาวบนฟ้ามากมาย ยกเว้นในคืนที่พระจันทร์ส่องสว่างมาก ๆ หรือในเมืองที่มีแสงไฟรบกวน  แสงจากดาวก็จะหายลับไป

ที่มา:http://www.nsm.or.th/nsm2009/index.php?option=com_nsmcontents&views=article&id=1686&Itemid=92

การทดลองความเป็นกรด เบส

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555


จันทรุปราคา





         จันทรุปาคา เป็น ปรากฏการณ์ ที่โลกบังแสงดวงอาทิตย์ไม่ให้ไปกระทบที่ดวงจันทร์ ในบริเวณดวงอาทิตย์ในวันเพ็ญ ( ขึ้น 15 ค่ำ ) โดยโลกอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ ทำให้เงาของโลกไปบังดวงจันทร์

         การเกิดจันทรุปราคา หรือเรียกอีกอย่างว่า จันทคราส คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในคืนวันเพ็ญ ( ขึ้น 15 ค่ำ) เมื่อดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในระนาบเส้นตรงเดียวกับโลกและดวงอาทิตย์ทำให้เงา ของโลกบังดวงจันทร์คนบนซีกโลกซึ่งควรจะเห็นดวงจันทร์เต็มดวงในคืนวันเพ็ญจึง มองเห็นดวงจันทร์ในลักษณะต่างๆ เช่น “ จันทรุปราคาเต็มดวง” เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนเข้าไปในเงามืดของโลก จึงทำคนบนซีกโลกที่ควรเห็นดวงจันทร์เต็มดวง กลับเห็นดวงจันทร์ซึ่งเป็นสีเหลืองนวลค่อยๆ มืดลง กินเวลาประมาณ 1.5 ชั่วโมง จากนั้นจึงจะเห็นดวงจันทร์ เป็นสีแดงเหมือนสีอิฐเต็มดวง เพราะได้รับแสงสีแดงซึ่งเป็นคลื่นที่ยาวที่สุดและบรรยากาศโลกหักเหไปกระทบ กับดวงจันทร์ ส่วน “ จันทรุปราคาบางส่วน” เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้าไปในเงามือของโลกเพียงบางส่วน จึงทำให้เห็นดวงจันทร์เพ็ญบางส่วนมืดลงและบางส่วนมีสีอิฐขณะเดียวกันอาจเห็น เงาของโลกเป็นขอบโค้งอยู่บนดวงจันทร์ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ว่าโลกกลม
           ผล กระทบ การเกิดจันทรุปราคาไม่ค่อยส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทาง ธรรมชาติเพราะเป็นช่วงกลางคืน แต่คนสมัยก่อนมีความเชื่อเช่นเดียวกับการเกิดสุริยุปราคา โดยเชื่อว่า “ราหูอมจันทร์” ซึ่งจะนำความหายนะ และภัยพิบัติมาสู่โลก คนจีนและคนไทยจึงแก้เคล็ดคล้ายกันเช่น ใช้วิธส่งเสียงขับไล่ คนจีนจุดประทัด ตีกะทะ ส่วนคนไทยก็เล่นกันก็ตีกะลา เอาไม้ตำน้ำพริกไปตีต้นไม้ เอาผ้าถุงไปผูกเพื่อล้างความโชคร้ายและให้ราหูโลกอมจันทร์”

ที่มา:http://www.oknation.net/blog/print.php?id=472497

การทดลองทางเคมี

กฏของนิวตัน

กฎข้อที่ 1 ของนิวตัน

       จากการเคลื่อนที่ของวัตถุต่างๆ ในชีวิตประจำวัน จะพบว่าวัตถุที่วางนิ่งอยู่บนพื้นราบเรียบจะ อยู่นิ่งต่อไปถ้าไม่ออกแรงกับวัตถุนั้น เช่น
ก้อนหินที่วางบนพื้น เฉยๆ และวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ถ้าไม่มีการออกแรงกับวัตถุนั้น หรือออกแรง 2 แรงกับวัตถุนั้นในแรงที่เท่ากันและทิศตรงข้ามกันแล้ว วัตถุจะยังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่เท่าเดิม เช่น เมื่อเราอยู่ในรถ แล้วรถเกิดเบรกกระทันหันทำให้รถหยุดนิ่งอย่างรวดเร็ว นันคือ มีแรงจากการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า และแรงเสียดทานในการเบรกในทิศตรงข้ามกันแต่ตัวเรายังเคลื่อนที่ไปข้างหน้าแม้รถจะหยุดแล้วก็ตาม กฎข้อที่ 1 ของนิวตัน เรียกอีกอย่างได้ว่า กฎความเฉื่อย

กฎข้อที่ 2 ของนิวตัน

จากการเคลื่อนที่ของวัตถุต่างๆ ในชีวิตประจำวัน จะพบว่า วัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่

      เมื่อ เราออกแรงผลัก หรือ ดึงวัตถุที่เคลื่อนที่อยู่นั้น ความเร็วจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ซึ่งเรียกว่า วัตถุมี ความเร่ง เช่น เมื่อเราขับรถอยู่ แล้วเหยียบคันเร่งให้รถวิงเร็วขึ้น ความเร็วที่เพิ่มขึ้น เกิดจากแรงของรถ ที่เรียกว่าความเร่งนั้นเอง และขนาดของความเร่งนั้นจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของวัตถุนั้นด้วย โดยถ้า น้ำหนักของวัตถุ 2 วัตถุ เท่ากัน แต่ออกแรงให้วัตถุแต่ละวัตถุไม่เท่ากัน วัตถุที่ถูกออกแรงมากกว่าจะมีความเร่งมากกว่า และถ้าออกแรงให้กับ วัตถุ 2 วัตถุเท่ากัน ในขณะที่น้ำหนักทั้ง 2 วัตถุ ไม่เท่ากัน วัตถุที่น้ำหนักมากกว่าจะมีความเร่งน้อยกว่า วัตถุที่มีน้ำหนักน้อยกว่าวัตถุ ที่เคลื่อนที่ตกจากที่สูง จะเคลื่อนที่ด้วยความร่งคงตัว แสดงว่า วัตถุนั้นต้องมีแรงกระทำอยู่ จึงทำให้วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง แรงที่ทำกับวัตถุนั้น เราเรียกว่า แรงดึงดูดของโลก หรือ แรงโน้มถ่วงของโลก และอาจเรียกได้อีกอย่างว่า น้ำหนักของวัตถุ

กฎข้อที่ 3 ของนิวตัน

      ในชีวิตประจำวันเราพบว่า เมื่อออกแรงกระทำกับวัตถุหนึ่ง วัตถุนั้นจะออกแรงตอบโต้กับแรงที่เรากระทำในทันที เช่น เราสวมรองเท้าสเก็ตแล้วหันหน้าเข้ากำแพง เมื่อเราออกแรงพลักกำแพง ตัวเราจะเคลื่อน ที่ออกจากกำแพง นั้นแสองว่า กำแพงต้องมีแรงกระทำต่อเราด้วย จากตัวอย่างนี้ เราเรียกแรงที่ เรากระทำต่อกำแพงว่า แรงกิริยา และเรียกแรงที่ กำแพงกระทำต่อเราว่า แรงปฏิกิริยา แรงทั้ง 2 นี้เรียกรวมกันว่าแรงคู่กิริยา - ปฏิกิริยา หรือ action - reaction pairs

ที่มา:http://www.lib.kmutt.ac.th/st4kid/nonFlash/index.jsp?id=2

การทดลองทางวิทยาศาสตร์

ลานีญา

ความหมายของลานีญา

       ลา นีญา (ในภาษาสเปน หมายถึง เด็กหญิงตัวน้อย) มีชื่อเรียกต่างๆ กันหลายชื่อ เช่น น้องของเอลนีโญ, สภาวะตรงข้ามเอลนีโญ, สภาวะที่ไม่ใช่เอลนีโญและฤดูกาลที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลเย็นเป็นต้น
โดย ลานีญาคือปรากฎการณ์ที่ทำให้สภาพอากาศเดิมมีความรุน แรงขึ้นอีกจากฝนตกหนักจะหนักขึ้นอีก จากแล้งจะแล้งมากขึ้น แต่เอลนีโญเป็นปรากฎการณ์ที่ทำให้สภาพอากาศเดิมเปลี่ยนแปลง ในทางตรงข้ามคือ
จากฝนมากจะตกลดลง จากฝนน้อยจะตกหนักมากขึ้นอีก

การเกิดลานีญา

       ปกติ ลมค้าตะวันออกเฉียง ใต้ในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนหรือแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรจะพัดพาน้ำอุ่นจากทาง ตะวันออกของมหาสมุทรไปสะสมอยู่ทางตะวันตกซึ่งทำให้มีการก่อตัวของเมฆและ ฝนบริเวณด้านตะวันตกของแปซิฟิกเขตร้อน
ส่วนแปซิฟิกตะวันออกหรือบริเวณ ชายฝั่งประเทศเอกวาดอร์และเปรูมีการ ไหลขึ้นของน้ำเย็นระดับล่างขึ้นไปยังผิวน้ำ ซึ่งทำให้บริเวณดังกล่าวแห้งแล้ง สถานการณ์เช่นนี้เป็นลักษณะปกติเราจึงเรียกว่าสภาวะปกติหรือสภาวะที่ไม่ใช่ เอลนีโญ
      แต่มีบ่อยครั้งที่สถานการณ์เช่นนี้ถูกมองว่าเป็นได้ทั้งสภาวะ ปกติและลานีญา แต่จะเห็นได้ว่าปรากฏการณ์ลานีญามีความแตกต่างจากสภาวะปกติ นั่นคือลมค้าตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก เขตร้อนมี กำลังแรงมากกว่าปกติและพัดพาผิวน้ำทะเลที่อุ่นจากตะวันออกไปสะสมอยู่ทาง ตะวันตก (บริเวณชายฝั่งอินโดนีเซียและออสเตรเลีย) มากยิ่งขึ้นทำให้บริเวณแปซิฟิกตะวันตก รวมทั้งบริเวณตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชีย
ซึ่งเดิมมี อุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงกว่าทางตะวันออกอยู่ แล้วยิ่งมีอุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นไปอีก อุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่สูงขึ้นส่งผลให้อากาศเหนือบริเวณดังกล่าวมีการลอยตัว ขึ้น และกลั่นตัวเป็นเมฆและฝน
ส่วนแปซิฟิกตะวันออกนอกฝั่งประเทศเปรู และเอกวาดอร์นั้นขบวนการ ไหลขึ้นของน้ำเย็นระดับล่างไปสู่ผิวน้ำจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องและรุนแรง อุณหภูมิที่ผิวน้ำทะเลจึงลดลงต่ำกว่าปกติจะมีความแห้งแล้งรุนแรงมากขึ้นเช่น ลานีญาที่เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2531 – 2532 อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณดังกล่าวต่ำกว่าปกติประมาณ 4 องศาเซลเซียส ปรากฏการณ์ลานีญาเกิดขึ้นได้ทุก 2 – 3 ปี และปกติจะเกิดขึ้นนานประมาณ 9 – 12 เดือนแต่บางครั้งอาจปรากฏอยู่ได้นานถึง 2 ปี

ผลกระทบของลานีญา

      ผล กระทบของลานีญาจะตรงข้ามกับเอลนีโญ คือปรากฏการณ์ลานีญาทำให้ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ์มีแนวโน้มที่จะมีฝนมากและมีน้ำท่วม ขณะที่บริเวณแปซิฟิกเขตร้อนตะวันออกมีฝนน้อยและแห้งแล้ง
      นอกจากพื้นที่ ในบริเวณเขตร้อนจะได้รับผลกระทบแล้ว ปรากฏว่าลานีญายังมีอิทธิพลไปยังพื้นที่ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปด้วย โดยพบว่าแอฟริกาใต้มีแนวโน้มที่จะมีฝนมากกว่าปกติ
และมีความ เสี่ยงต่ออุทกภัยมากขึ้น ขณะที่บริเวณตะวันออกของแอฟริกาและตอนใต้ของอเมริกาใต้มีฝนน้อย และเสี่ยงต่อการเกิดความแห้งแล้ง และในสหรัฐอเมริกาช่วงที่เกิดปรากฏการณ์ลานีญา
จะแห้ง แล้งกว่าปกติทางตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงปลายฤดูร้อนต่อเนื่องถึงฤดูหนาว บริเวณที่ราบตอนกลางของประเทศในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและทางตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงฤดูหนาว แต่บางพื้นที่ทางตอนเหนือและตะวันออกมีฝนมากกว่าปกติในช่วงฤดูหนาว
ส่วน ผลกระทบของลานีญาที่มีต่อรูปแบบของอุณหภูมิ ปรากฏว่าในช่วงลานีญาอุณหภูมิผิวพื้นบริเวณเขตร้อนโดยเฉลี่ยจะลดลง และมีแนวโน้มต่ำกว่าปกติในช่วงฤดูหนาวของซีกโลกเหนือทางตะวันตกเฉียง เหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก
       บริเวณประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีมีอุณหภูมิต่ำ กว่าปกติ ขณะที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรรวมถึงพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของ ออส เตรเลียมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ ส่วนทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกาต่อเนื่องถึงตอนใต้ของแคนาดา
มีอากาศหนาว เย็นกว่าปกติ ซึ่งกระทบกันแทบทั้งโลกเลยทีเดียว

ผลกระทบของลานีญาต่อปริมาณฝน และอุณหภูมิในประเทศไทย

       ช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝนเป็นระยะที่ลานีญามีผลกระทบต่อสภาวะฝนของประเทศไทยชัด เจนกว่าช่วงอื่น
       สำหรับ อุณหภูมิ ทุกภาคของประเทศไทยมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติทุกฤดู และพบว่าลานีญาที่มีขนาดปานกลางถึงรุนแรงส่งผลให้ปริมาณฝนของประเทศ ไทยสูงกว่าปกติมากขึ้น

ที่มา:http://www.lib.kmutt.ac.th/st4kid/nonFlash/index.jsp?id=189
จุลินทรีย์คืออะไร

   จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมากที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า จุลินทรีย์มีอยู่ทุกหนทุกแห่งแม้แต่ในร่างกายของเรา  และยังพบในพืช สัตว์  ในสิ่งแวดล้อม ทั้งดิน น้ำ อาหาร อากาศ  จุลินทรีย์ส่วนใหญ่เป็นพวกที่มีประโยชน์ และไม่ทำอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่น แต่บางพวกก่อให้เกิดโรคในพืช สัตว์ และมนุษย์
ประเภทของจุลินทรีย์
เราอาจแบ่งจุลินทรีย์ออก เป็นกลุ่มตามขนาด รูปร่างและคุณสมบัติอื่นๆ ได้ดังนี้
1. เชื้อไวรัส เป็นจุลินทรีย์ที่ขนาดเล็กที่สุดต้องใช้กล้องจุลทรรศน์อิ เล็กตรอนที่มีกำลังขยายเป็นหมื่นเท่าจึงจะมองเห็นได้ เรายังไม่สามารถเพาะเลี้ยงเชื้อไวรัสได้ในอาหารเพาะเลี้ยง เชื้อไวรัสเจริญเพิ่มจำนวนได้เมื่ออยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเท่านั้น
2. เชื้อบัคเตรี มีขนาดใหญ่กว่าเชื้อไวรัส สามารถมองเห็นได้เมื่อส่องขยายด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา
3. เชื้อรา (fungus) มีขนาดใหญ่กว่าเชื้อบัคเตรี พบว่ามีรูปร่าง 2 แบบ คือ ราแบบรูปกลม เรียกว่า ยีสต์ และราแบบเป็นสาย เรียกว่า สายรา ราบางชนิดจะมีรูปร่างได้ทั้ง 2 แบบ ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ เราอาจมองเห็นกลุ่มของเชื้อราได้ด้วยตาเปล่า ราบางชนิดจะสร้างสปอร์สำหรับสืบพันธุ์เกิดเป็นเห็ดขึ้น
4. เชื้อปรสิต (parasite) เป็นจุลชีพที่มีขนาดใหญ่ มีลักษณะใกล้เคียงกับสัตว์มากกว่าพืช ภายในเซลล์แยกออกเป็นนิวเคลียสและไซโทพลาซึม (cytoplasm) ชัดเจน แบ่งย่อยออกไปอีกเป็น สัตว์เซลล์เดียว หนอนพยาธิ และอาร์โทรพอด (arthropod) ตัวอย่างเชื้อปรสิต ได้แก่ เชื้อบิดอะมีบา เชื้อมาลาเรีย พยาธิตัวกลม พยาธิใบไม้ พยาธิตัวตืด ตัวหิดและตัวโลน เป็นต้น


ความสำคัญของจุลินทรีย์

1. ผลิตอาหาร อาหารที่เกิดจากการหมักของจุลินทรีย์ เรียกว่า อาหารหมัก (fermented food) เช่นกะหล่ำปลีดอง แตงกวาดอง นมเปรี้ยว โยเกิร์ต เกิดจากกระบวนการหมักโดยใช้แบคทีเรียที่สร้างกรดแล็กติก ทำให้มีรสเปรี้ยว ,เนย เกิดจากการนำไขมันในนมมาเติมเชื้อแบคทีเรียเพื่อทำให้เกิดการจับตัวกันทำให้ เกิดเนยเหลว (butter) และเนยแข็ง (cheese) ตามชนิดของแบคทีเรียที่ใช้ ,เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เกิดจากการหมักของยีสต์ที่เปลี่ยนน้ำตาลให้เป็น แอลกอฮอล์ ,ขนมปังเกิดจากการหมักของยีตส์ที่จะให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทำ ให้ขนมปังนุ่มฟู

2. ผลิตเชื้อเพลิง กระบวนการหมักของยีสต์ทำให้เกิดแอลกอฮอล์ซึ่งสามารถนำไปผสมกับน้ำมัน เรียกว่า แก๊สโซฮอล์ (Gasohol)

3. การบำบัดน้ำเสีย น้ำเสียจากบ้านเรือนจะมีสารอินทรีย์ปนอยู่มาก ซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ การบำบัดน้ำเสียทำได้โดยการเติมอากาศให้กับน้ำโดยการกวนน้ำแรงๆ แล้วปล่อยให้เป็นหน้าที่ของจุลินทรีย์ในการย่อยสลายสารอินทรีย์

4. การย่อยสลายสารอินทรีย์ จุลินทรีย์ในดินพวกแบคทีเรียและเห็ดราชนิดต่างๆ ช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์จากซากสิ่งมีชีวิตให้กลายเป็นสารอนินทรีย์ โดยจุลินทรีย์ได้สารอาหารจากซากเหล่านั้น และนำไปใช้ประโยชน์ ขณะเดียวกันสารอินทรีย์ที่สลายเป็นสารอนินทรีย์ ก็เป็นสารอาหารของพืชที่ดูดซึมไปสร้างเนื้อเยื่อพืชได้ ดังนั้น ถ้าขาดจุลินทรีย์ในดิน จะทำให้ดินขาดสารอาหาร และพืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้

5. ผลิตสารปฏิชีวนะและวัคซีน จุลินทรีย์สามารถสร้างสารปฏิชีวนะเพื่อไปทำลายจุลินทรีย์อีกชนิดหนึ่งที่ก่อ ให้ เกิดโรค โดยสารนี้ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ทำให้เกิดยารักษาโรคต่างๆ ,การฉีดวัคซีนเป็นการฉีดเชื้อที่ตายแล้วหรือเชื้อที่อ่อนกำลังลง (เรียกว่า แอนติเจน) เข้าไปในร่างกายเพื่อให้ร่างกายรู้จักเชื้อชนิดนั้นแล้วสร้างภูมิคุ้มกัน ขึ้นมา เมื่อได้รับเชื้อเป็นครั้งที่สองร่างกายจะทำการต่อต้านและทำลายเชื้อนั้นๆ ได้รวดเร็วขึ้น

จุลินทรีย์ให้โทษ

1. ทำให้อาหารเน่าเสีย จะเห็นได้ว่าเมื่อเราวางอาหารทิ้งไว้นานๆ อาหารนั้นจะมีกลิ่นเหม็น และมีลักษณะเปลี่ยนไป (เป็นเมือกเหนียว มีฟอง) ลักษณะเช่นนี้เกิดจากการย่อยสลายของจุลินทรีย์

2. เป็นสาเหตุของโรค กลไกการก่อให้เกิดโรคมี 2 อย่าง คือ

- จุลินทรีย์จะทำการขยายพันธุ์ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตก่อให้เกิดโรค ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ และอาจติดต่อไปยังสิ่งมีชีวิตอื่นได้อีกด้วย เช่น โรคหวัด บาดทะยัก โรคพยาธิต่างๆ

- จุลินทรีย์จะสร้างสารซึ่งเป็นพิษต่อร่างกายก่อให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ท้องเดิน


ที่มา:http://www.lib.kmutt.ac.th/st4kid/nonFlash/index.jsp?id=25

PSY - GANGNAM STYLE (강남스타일) M/V

เปลวไฟลอยน้ำ

วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับบะหมี่

บรรยากาศของโลก

องค์ประกอบบรรยากาศโลก


   1. ออกซิเจน เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ และมีปริมาณอันดับ 2 ในส่วนประกอบของบรรยากาศโลก คือมีประมาณร้อยละ 20.947 โดยปริมาตร
   2. ไนโตรเจน เป็นส่วนประกอบที่มีปริมาณอันดับ 1 ในส่วนประกอบของบรรยากาศของโลก มากมายถึงร้อยละ 78
   3. อาร์กอน เป็นส่วนประกอบของบรรยากาศโลกแค่ ร้อยละ 1


การแบ่งชั้นบรรยากาศฃ

บรรยากาศแบ่งไม่ได้แบ่งเป็นชั้นที่มองเห็นได้ แต่จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์สามารถแบ่งชั้นบรรยากาศได้เป็น 5 ชั้น ดังนี้

 โทรโพสเฟียร์ (troposphere)

เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่สูงจากพื้นดินขึ้นไปประมาณ 15 กม. อุณหภูมิจะค่อยๆลดลงตามระดับความสูง และเป็นชั้นที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศด้วย. มีปรากฏการณ์ที่สำคัญ คือ ลม เมฆ พายุ หิมะ สตราโทสเฟียร์ (stratosphere)

เป็นชั้นที่มีเสถียรภาพต่ำสุด มีความสูงตั้งแต่ 15-50 กม. อุณหภูมิในระดับล่างของชั้นนี้จะคงที่จนถึงระดับความสูง 20 กม. จากนั้นอุณหภูมิจะค่อยๆสูงขึ้น ชั้นนี้เป็นชั้นที่เครื่องบินจะบินเพราะไม่มีความแปรปรวนของสภาพอากาศและ เครื่องบินทั้งหมดที่บินในชั้นจะนี้จะเป็นเครื่องบินไอพ่น มีโซสเฟียร์ (mesosphere)

เป็นช่วงบรรยากาศที่อยู่สูงจากพื้นดินในช่วง 50-80 กม.อุณหภูมิลดลงตามระดับความสูง ตั้งแต่ชั้นแรกถึงชั้นนี้อากาศยังเป็นเนื้อเดียวกันอยู่ ทั้ง 3 ชั้นรวมทั้งหมดเรียกว่า โฮโมสเฟียร์ (homosphere) บรรยากาศมีก๊าซโอโซนอยู่มากซึ่งจะช่วยสกัดแสงอัลตร้า ไวโอเรต (UV) จาก ดวงอาทิตย์ไม่ให้มาถึงพื้นโลกมากเกินไปเทอร์โมสเฟียร์ (thermosphere)

เป็นช่วงบรรยากาศที่มีระดับความสูง 80-500 กม. อุณหภูมิจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว (เนื่องจากใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น) จนถึงระดับประมาณ 100 กม. จากนั้นอัตราการสูงขึ้นของอุณหภูมิจะลดลง อุณหภูมิเฉลี่ยของชั้นนี้คือ 227-1727 องศาเซลเซียส ชั้นนี้ยังมีแก็สที่เป็นประจุไฟฟ้าเรียกว่า ไอออน สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุบางชนิดได้ เราอาจเรียกชั้นนี้ว่า ไอโอโนสเฟียร์ (ionosphere) ก็ได้ เอกโซสเฟียร์ (exosphere)

เริ่มตั้งแต่ 500 กม.จากผิวโลกขึ้นไป บรรยากาศชั้นนี้เจือจางมากจนไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของชั้นบรรยากาศ องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแก๊สไฮโดรเจนและฮีเลียม ไม่มีรอยต่อที่ชัดเจนระหว่างบรรยากาศกับอวกาศ มีอุณหภูมิประมาณ 726 องศาเซลเซียส ถึงแม้อุณหภูมิจะสูงแต่เนื่องจากอากาศเบาบางมาก จึงแทบไม่มีผลต่อยานอวกาศ บรรยากาศนี้ถือว่าไม่ดีนัก

ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81

-: รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ :-

เมื่อวานนี้วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2552 ได้มีโอกาสไปชมงานแสดงสินค้า ชื่องาน Energie Sparen เป็นงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีในการประหยัดพลังงาน
มีหลายอย่างที่น่าสนใจในงานนี้ แต่ที่มาสะดุดและต้องหยุด เพราะความชอบและเอ็นดูกับความน่ารักของรถยนต์ประหยัดพลังงานคันนี้
ที่น่าทึ่งและชอบคือ รถยนต์คันนี้ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ (สามารถใช้ไฟฟ้าจากไฟในบ้านเรือนได้ด้วย)
รถยนต์คันนี้ได้รับการพัฒนาจาก วิทยาลัยแห่งเวลส์ ประเทศออสเตรีย จากภาควิชาเทคโนโลยีเพื่อวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (ถ้าแปลไม่ผิดหรือถ้าเข้าใจผิดก็ต้องขออภัย)
รถยนต์นี้เป็นรถยนต์นำร่อง ที่ยังจะต้องมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เพราะด้วยข้อจำกัดหลายๆ อย่าง แต่รถยนต์คันนี้ใช้งานปกติ
จะสังเกตได้จากแผ่นป้ายทะเบียน เป็นรถยนต์ที่ใช้วิ่งได้ทั่วไป แม้แต่บนถนนหลวง ถนนไฮเวย์ก็ตาม

องค์ประกอบของหัวใจ

วิทยาศาสตร์  


       
     สิ่งที่เรียกว่า วิทยาศาสตร์ “Science“ มาจากคำว่า Scientic ภาษาลาติน แปลว่า ความรู้ ฉะนั้น วิทยาศาสตร์คือ ความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับ ธรรมชาติที่มนุษย์ สะสมมาแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต อย่างไม่รู้จักจบสิ้น นอกจากนี้ยังกล่าวได้ว่า วิทยาศาสตร์ คือองค์ความรู้ที่มีระบบและจัดไว้อย่างมีระเบียบแบบแผน โดยทั่วไปกระบวนการหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (The Process of Science) ประกอบด้วย- ระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์- เจตคติทางวิทยาศาสตร์

ระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ 

     เป็นการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์มี 5 ขั้นตอน1. การสังเกตและการตั้งปัญหา2. การตั้งสมมุติฐาน เป็นการคาดคะเนอย่างมีเหตุผล3. การศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล4. การทดลองเพื่อตรวจสอบสมมุติฐาน5. การสรุปผล

เจตคติทางวิทยาศาสตร์ 

       เจตคติซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งเสริม กระบวนการแสวงหา ความรู้ ที่ทบวงกำหนดมี 6 กระบวนการ1. มีเหตุผล2. อยากรู้ยากเห็น3. ใจกว้าง4. ชื่อสัตย์ใจเป็นกลาง5. ความเพียรพยายาม6. ละเอียดรอบคลอบ         ถ้าจะให้นิยามความหมายของวิทยาศาสตร์ว่า “ความรู้” ตามความหมายที่แปลมาจากภาษาลาติน ดูเหมือนว่าจะมีความหมายที่สั้นและแคบจนเกินไป เพราะธรรมชาติหรือแก่นสารที่แท้จริงของวิทยาศาสตร์นั้นไม่ได้หมายถึงความรู้ เนื้อหาวิทยาศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ด้วย ซึ่งหมายความว่าวิทยาศาสตร์นั้นจะต้องได้ทั้งตัวความรู้ วิทยาศาสตร์ วิธีการ และเจตคติวิทยาศาสตร์ไปพร้อม ๆ กัน         วิทยาศาสตร์ คือ เรื่องราวของสิ่งแวดล้อม ปรากฎการณ์ธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์ได้รวบรวมความจริง (facts) เหล่านั้นเพื่อนำมาประมวลเป็นความรู้ และตั้งเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น ความรู้ที่แสดงหรือพิสูจน์ได้ว่าถูกต้องเป็นความจริง จัดไว้เป็นหมวดหมู่ มีระเบียบและขั้นตอน สรุปได้เป็นกฎเกณฑ์สากล เป็นความรู้ที่ได้มาโดยวิธีการที่เริ่มต้นด้วยการสังเกต และ/หรือ การจัดที่เป็นระเบียบมีขั้นตอน และปราศจากอคติ ซึ่งสอดคล้องกับการให้ความหมายของ The Columbia Encyclopedia ซึ่งจะอธิบายได้ว่า วิทยาศาสตร์ เป็นการรวบรวมความรู้อย่างมีระบบระเบียบ ความรู้ที่ได้รวบรวมไว้นี้เป็นความรู้เกี่ยวกับปรากฎการณ์ธรรมชาติ ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นนั้น มิได้หมายถึงเฉพาะการรวบรวมข้อเท็จจริงเพียงสภาพพลวัต หรือมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาและตามสภาพการกระตุ้นจากภายในหรือจากสภาพภาย นอก ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกิดจากการสังเกตธรรมชาติและการวิเคราะห์วิจัย วิทยาศาสตร์จึงเป็นสากลเพราะเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นด้วยหลักการเดียวกัน วิทยาศาสตร์จึงไม่ถูกจำกัดด้วยเวลา สถานที่ และวัฒนธรรม        อีกหนึ่งความหมายของวิทยาศาสตร์ที่อธิบายไว้อย่างละเอียดและชัดเจน คือ ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา ซึ่งมนุษย์ได้ศึกษาค้นคว้าสะสมมาตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน และจะศึกษาต่อไปในอนาคตอย่างไม่รู้จักจบสิ้น มนุษย์ได้พยายามศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมว่า1. สิ่งต่าง ๆ มีความเป็นมาอย่างไร2. สิ่งเหล่านั้นมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างไรบ้าง3. พัฒนาการของสิ่งเหล่านั้นมีระเบียบแบบแผน หรือมีหลักเกณฑ์อย่างไร และจะบังเกิดขึ้นในอนาคตอย่างไร4. มนุษย์จะนำความรู้ทั้งหลายมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไรบ้างTags: การตั้งสมมุติฐาน, การทดลองเพื่อตรวจสอบสมมุติฐาน, การวิเคราะห์วิจัย, การศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล, การสรุปผล, การสังเกตและการตั้งปัญหา, ระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์, วิทยาศาสตร์, วิทยาศาสตร์คือ, วิเคราะห์วิจัย, สิ่งที่เรียกว่า วิทยาศาสตร์, เจตคติทางวิทยาศาสตร์ที่มา:http://www.babydope.com/tag/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%95%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C/

แบตเตอรี่หัวมันฝรั่ง


ผัก ผลไม้ ก็สร้างกระแสไฟฟ้าได้นะ  มาลงมือแล้วฟังเสียงการไหลของกระแสไฟฟ้ากันเลย

สิ่งที่ต้องใช้


        1.         มันฝรั่ง 1 หัว
        2.         มีด
        3.         เหรียญสลึงที่มีส่วนประกอบของทองแดง 1 เหรียญ
        4.         แหวนรองน๊อต 1 วง หรือตะปูสังกะสีก็ได้
        5.         สายไฟสำเร็จรูปที่ต่อกับตัวหนีบปากจระเข้ 2 เส้น
        6.         หูฟัง 1 เส้น

วิธีทดลอง

      ใช้มีดกรีดมันฝรั่งให้เป็นรอยแยกขนาดเล็ก 2 รอย ให้ห่างกัน  2-3 ซม. เสียบเหรียญและแหวนรองน๊อตลงไปในรอยแยก
      นำหัวหนีบปากจระเข้ 1 เส้นหนีบกับเหรียญสลึง ืและอีกหนึ่งเส้นหนีบกับแหวนรองน๊อต
      นำปลายอีกด้านของหัวหนีบทั้ง 2 เส้น มาหนีบกับปลายที่เสียบหูฟัง ระวังอย่าให้ปลายตัวหนีบแตะโดนกันนะ...ลองฟังดูซิเธอได้ยินเสียงอะไรไหม?                     

เพราะอะไรกันนะ

        เมื่อหนีบตัวหนีบกับที่เสีบยหูฟัง กระแสไฟฟ้าจะถูกต่อเข้ากับแบตเตอรี่ในหัวมันฝรั่ง และเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างทองแดงในเหรียญสลึง + สังกะสีในแหวนรองน๊อต + น้ำในมันฝรั่ง = แรงดันไฟฟ้า ปฏิกิริยานี้จะนำเอาอนุภาคเล็กจิ๋วที่ชื่อ "อิเลคตรอน" ให้ไหลไปตามสายไฟ  อิเล็คตรอนมีขนาดเล็กมากจนเรามอง
ไม่เห็น แต่เราได้ยินเสียงมันไหลได้ด้วยหูฟัง เราสร้างแบตเตอรี่ได้ด้วยการนำโลหะสองชนิดที่ต่างกัน เช่น อะลูมิเนียมฟรอยล์และช้อนโลหะ มาเชื่อมโยงถึงกันด้วยของเหลวที่นำไฟฟ้า เช่น น้ำมะนาว
หัวมันฝรั่ง ส้ม แรงดันไฟฟ้าจะถูกสร้างขึ้น หน่วยวัดแรงดันไฟฟ้าคือ โวลต์ (Volt)

การทดลองวิทยาศาสตร์

น้ำนำแสง

รู้จักเส้นใยแก้วนำแสงไหม? 

           เส้นใยแก้วเป็นเส้นใยที่ทำจากแก้วบริสุทธิ์และส่งสัญญาณแสงได้ เมื่อส่องแสงไปที่ปลายของเส้นใยแก้วนำแสง แสงจะสามารถเดินทางภายในเส้นใยแก้วและถูกส่งออกมาอีกด้านหนึ่งได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของแสงกับวัสดุ ประโยชน์ที่เราพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันคือการส่งข้อมูลได้จำนวนมาก เช่นสายอินเทอร์เน็ต นอกจากวัสดุที่เป็นแก้วแล้ว แสงยังสามารถเดินทางในน้ำเปล่า ด้วยหลักการวิทยาศาสตร์เดียวกัน เรามาทำการทดลองเพื่อเรียนรู้หลักการการสะท้อนของแสงระหว่างพื้นผิวของวัสดุโปร่งแสง 2 ชนิด

อุปกรณ์

1. ไฟฉาย
2. ขวดน้ำพลาสติกใส
3. น้ำเปล่า
4. กรรไกรหรือสิ่งที่เจาะรูกลมได้

วิธีทดลอง

1. เจาะรูกลมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตรบริเวณใกล้กับฐานขวด
2. จากนั้นใช้นิ้วอุดรูไว้ และเติมน้ำให้สูงกว่ารู
3. ใช้ไฟฉายส่องด้านหลังขวดบริเวณตรงข้ามกับรู
4. เอานิ้วออกจากรูและใช้มืออีกข้างรับน้ำที่ไหลออกมาจากรู
5. สังเกตบริเวณปลายสุดของน้ำที่ไหลออกมา


            จากการทดลอง เมื่อเราส่องแสงไปในน้ำ แสงสามารถเดินทางมาตามลำน้ำได้จนถึงปลายทางของน้ำ ตามหลักการวิทยาศาสตร์กล่าวว่า แสงเดินทางเป็นเส้นตรง แต่ในการทดลองนี้ ถึงแม้ว่าสายน้ำจะโค้งแต่แสงก็เดินทางมาตามน้ำมาได้ เพราะเหตุใดแสงจึงเดินทางตามน้ำที่โค้งได้?
          จริงๆ แล้วแสงยังเดินทางเป็นเส้นตรงจากอากาศ และสะท้อนออกมาเป็นเส้นตรงเมื่อตกบนพื้นผิว เช่นน้ำ ซึ่งบางส่วนของแสงจะสะท้อนกลับ และเนื่องจากน้ำโปร่งแสง แสงบางส่วนจึงสามารถเดินทางผ่านจากอากาศไปในน้ำได้ ในทางกลับกัน แสงที่เปล่งในน้ำสามารถเดินทางผ่านน้ำไปสู่อากาศได้ ดังลำแสงเส้นสีเขียวในรูปภาพนี้ (ลองทำการทดลอง “ลำแสงหักเห” จากเว็บไซต์ อพวช. หน้า “การทดลองวิทยาศาสตร์”)



         เมื่อแสงตกลงที่พื้นผิวระหว่างตัวกลางทั้งสอง ทำมุมเท่ากับหรือมากกว่า มุม θ ดั่งลำแสงสีแดงในรูปนี้ แสงทั้งหมดจะสะท้อนกลับเข้าตัวกลางเดิม ไม่สามารถผ่านพื้นผิวระหว่างสองตัวกลางได้ มุม θ หรือเรียกว่า มุมวิกฤตของแต่ละตัวกลางจะแตกต่างกัน ซึ่งปรากฏการณ์นี้คือการสะท้อนกลับหมด แสงในใยแก้วนำแสงและลำน้ำจึงสามารถสะท้อนกับพื้นผิวและเดินทางผ่านตัวกลางที่โค้งอยู่ และเปล่งออกมาอีกด้านหนึ่งได้

ที่มาhttp://www.nsm.or.th/nsm2009/index.php?option=com_nsmcontents&views=article&id=2358&Itemid=92